โครงงาน ประดิษฐ์หัตถศิลป์ เพื่อท้องถิ่น ด้วยวิถีพอเพียง

ชื่อโครงงาน          ศาสตร์คณิต ประดิษฐ์หัตถศิลป์ เพื่อท้องถิ่น ด้วยวิถีพอเพียง (Mathematics   Artificial Craftsmanship to Local in Sufficient Ways)

ชื่อผู้จัดทำโครงงาน      

  1. นางสาวศไพพร  วรพุทธะ
  2. นางสาววศินี   หัตถสงเคราะห์
  3. นางสาวศศินา   วงศ์วัฒนเวศย์

ครูที่ปรึกษา               

  1. นางปริสา  วงษ์คำพระ
  2. นางพรพรรณ  ศรีซุย 

                             

โรงเรียน      โรงเรียนสตรีราชินูทิศ  จังหวัดอุดรธานีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  20

ระยะเวลาดำเนินการ     13 สิงหาคม 2561 – 26 ตุลาคม 2561

บทคัดย่อ

     โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง ศาสตร์คณิต ประดิษฐ์หัตถศิลป์ เพื่อท้องถิ่น ด้วยวิถีพอเพียง (Mathematics Artificial Craftsmanship to Local in Sufficient Ways) มีวัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาและสร้างลวดลายที่เกิดจากกราฟฟังก์ชันไซน์และโคไซน์  กราฟพาราโบลา  กราฟวงกลมและกราฟในระบบพิกัดเชิงขั้ว โดยโดยใช้โปรแกรม The Geometer ’s Sketchpad (GSP)  2)นำลวดลายที่ได้จากกราฟฟังก์ชันไซน์และโคไซน์  กราฟพาราโบลา  กราฟวงกลมและกราฟในระบบพิกัดเชิงขั้ว มาประยุกต์ใช้กับการสร้างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สินค้า

          วิธีการดำเนินการเริ่มจากการประชุมกลุ่มศึกษาเนื้อหาคณิตศาสตร์เพื่อออกแบบลวดลาย  จากนั้นออกแบบลวดลายจากกราฟฟังก์ชันไซน์และโคไซน์  กราฟพาราโบลา  กราฟวงกลมและกราฟในระบบพิกัดเชิงขั้วทำให้ได้ลวดลายแปลกใหม่และสวยงามที่แตกต่างกันจำนวน 7 ลาย ได้แก่ ลายดอกลีลาวดี  ลาย wind turbine ลาย water lilly ลายคลื่นดอกไม้  ลาย flower star  ลายทานตะวันและลาย 4 wings จากนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้มีการประชุมกลุ่มหาข้อตกลงเลือกลวดลายที่จะนำมาประยุกต์ใช้บนผลิตภัณฑ์และนำลวดลายที่ออกแบบไว้ไปให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปั้นหม้อเขียนสี และร้านสกรีนเพื่อนำลวดลายมาประยุกต์เข้ากับผลิตภัณฑ์และนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปเผยแพร่ในชุมชนและโรงเรียน

ผลการดำเนินการพบว่า

  1. จากการสร้างลวดลายที่เกิดจากกราฟฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ กราฟพาราโบลา  กราฟวงกลมและกราฟในระบบพิกัดเชิงขั้ว โดยใช้โปรแกรม The Geometer ’s Sketchpad (GSP) ทำให้ได้ลวดลายที่แปลกใหม่และสวยงามจำนวน 7 ลาย  ได้แก่  ลายดอกลีลาวดี  ลาย wind turbine  ลาย water lilly  ลายคลื่นดอกไม้  ลาย flower star  ลายทานตะวันและลาย 4 wings 
  2. นำลวดลายที่เกิดจากของกราฟฟังก์ชันไซน์และโคไซน์  กราฟพาราโบลา  กราฟวงกลมและกราฟในระบบพิกัดเชิงขั้ว มาประยุกต์ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ได้แก่ แจกันดอกไม้ดินเผา  สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สินค้าอย่างอื่นได้เป็นอย่างดี เช่น เสื้อรักโลก กระเป๋าลดโลกร้อนและถุงผ้าลดโลกร้อน  เป็นต้น

 

โรงเรียนสตรีราชินูทิศ    สพม.อุดรธานี  อ.เมือง  จ.อุดรธานี